วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มาเด้อมากินลาบเป็ด

ลาบเป็ดอีสาน

 
ลาบเป็ดสูตรอีสานใส่น้ำปลาร้าเพื่อความเป็นรสชาติของอีสาน ไม่ใส่น้ำตาล

ส่วนผสม
เป็ดอ่อน 1/2 ตัว
ปลาร้าต้มสุก 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาดี 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 1/4 ถ้วยตวง
ข้าวคั่ว 3 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูคั่วป่น 2 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงซอยบาง ๆ 1/4 ถ้วยตวง
ผักชีฝรั่งหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ผักชีหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ใบมะกรูดหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
ข่าหั่นเป็นแว่น ๆ 5 แว่น
ตะไคร้หั่นเป็นท่อน ๆ 1 ต้น
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
ผักสดต่าง ๆ เช่น ถั่วผักยาว ผักชี ใบโหระพา เป็นต้น
 
วิธีการทำ1. ต้มน้ำให้เดือดใส่ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูดฉีก นำเป็ดลงต้ม พอสุกตักขึ้นลอกหนังเป็ดออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ (หนังเป็ดต้มพอสุก อย่าให้เละจะทำให้ลาบแฉะ)
2. เลาะเนื้อเป็ด หั่นเป็นชิ้น ๆ สับละเอียดผสมข่าให้เข้ากัน พร้อมทั้งหนังเป็ด นำขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง พอเป็ดสุกทั่วดีแล้วยกลง
3. ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว น้ำตาลทราย ชิมรสให้กลมกล่อม
4. นำเป็ดที่รวนแล้ว ใส่ข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปรุงรส เคล้าให้เข้ากัน ใส่หอมแดง ใบสะระแหน่ ผักชีฝรั่ง ต้นหอม ผักชี ใบมะกรูด เค้าให้เข้ากัน จัดใส่จาน รับประทานกับผักสด

มาม๊า เที่ยวเกาะพยาม ที่ ระนอง

     เกาะพยาม อยู่ฝั่งทะเลอันดามัน จ.ระนอง เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากเกาะช้าง(ระนอง) อยู่ห่างเกาะช้างมาทางใต้ 4 กิโลเมตร ตอนกลาง ของเกาะพื้นที่เป็นภูเขามีป่าไม้และสัตว์ป่าประเภทนก ลิงและหมูป่า พื้นที่บางส่วนถูกปรับเปลี่ยนเป็นสวน ชาวบ้านบนเกาะมี อาชีพทำสวนมะพร้าว สวนยางและสวนกาหยูลักษณะทางภูมิศาสตร์ รอบๆ ชายฝั่งเป็นอ่าวสลับกับโขดหิน บริเวณตอนกลางของอ่าว เป็นหาด  เกาะพยามเป็นแหล่งปลูก มะม่วงหิมพานต์ หรือกาหยู ที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัด บนเกาะมีพื้นที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร ช่วงเวลาที่เหมาะสมเดินทางมาเที่ยวที่หมู่เกาะพยามคือ เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม

    ลักษณะและหาดต่างๆของเกาะพยาม
     เกาะพยาม มีชายหาดที่สวยงามขาวสะอาดหลายแห่ง ได้แก่ อ่าวใหญ่ และอ่าวเขาควาย ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะและเป็น ที่ตั้งของรีสอร์ท หลายแห่ง ส่วนอ่าวแม่ม้ายซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นท่าเทียบเรือ และเป็นศูนย์กลาง การคมนาคมและการค้าของ เกาะพยาม รวมทั้งสามารถเช่ามอร์เตอร์ไซค์ให้ไปส่งตามรีสอร์ทที่หาดต่างๆมีร้านค้าต่าง ๆ และเกสท์เฮ้า บนเกาะมีมอเตอร์ไซค์ให้เช่า และมีเรือเช่าเที่ยวรอบเกาะไปดำน้ำเกาะขามซึ่งอยู่ใกล้กัน ใกล้ๆ กันมีวัดเกาะพยามมีสะพานทางเดิน ไปสู่โบสถ์ที่ยื่นลงไปในทะเล เส้นทางของอ่าวต่างๆจะตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-10 นาที โดยจะเรียงลำดับตามนี้ อ่าวแม่ม้าย(ท่าเรือ) อ่าวใหญ่ อ่าวเขาควายฝั่งใต้ อ่าวเขาควายฝั่งเหนือ อ่าวกวางปีบ(ไกลสุด) ที่พักบนอ่าวต่างๆ มีให้เลือกหลายราคา หากที่พักราคาไม่แพง ในหลักร้อยต้นๆจะเปิดไฟเวลา 18.00 น. ถึง 6.00 น.ไม่ได้มีไฟฟ้าใช้ ทั้งวันเนื่องจากต้องปั่นไฟใช้เอง แต่ถ้าที่พักในระดับราคาสูงขึ้นมา หน่อยในระดับหลักร้อยปลายถึงพันก็อาจจะมีไฟฟ้าใ้ช้ตลอดทั้งวัน

  



   สถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะพยาม

ท่าเรือและอ่าวแม่หม้าย
ท่าเรือที่อ่าวแม่หม้ายคือประตูบานใหญ่สู่เกาะพยาม หน้าอ่าวมีสะพานท่าเทียบเรือเมื่อเดินเข้าถึงฝั่งมีป้ายต้อนรับผู้มาเยือน มีเรือประมง ของชาวบ้านจอด เรียงรายทั้ง 2 ฟากของสะพาน บริเวณใกล้เคียงแหล่งชุมนุมหลักมีร้านขายอาหารและของใช้ประจำวัน เป็นจุดเริ่มต้น ของถนนสายหลักเป็นถนนคอนกรีตความกว้างประมาณ 3 เมตร ตัดผ่านชุมนุมเลียบอ่าวแม่หม้าย มีทางแยกตัดตรงไปสู่อ่าวเขาควาย และอ่าวใหญ่ที่ผ่านแหล่งท่องเที่ยวทางเกษตรของเกาะ มีมอเตอร์ไซด์รับจ้างและให้เช่าที่บริเวณตลาด ไม่ไกลจากอ่าวแม่ม้ายเป็น ที่ตั้งของ รีสอร์ทชื่อดัง เดอะบลูสกายรีสอร์ท ส่วนรีสอร์ทอื่น ได้แก่ ชมจันทร์ รีสอร์ท นิธิพรบังกะโล


ข้อดี: พระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าสวยงาม เป็นแหล่งรวมของร้านค้า ร้านอาหาร
ข้อด้อย: บริเวณชายหาดมีขยะและเศษขวดเศษแก้วเยอะ

ช่วงเวลาแนะนำ
ช่วงเช้า: ต้องมาดูพระอาทิตย์ขึ้นที่อ่าวนี้ เพราะอ่าวหันหน้าเข้าทิศตะวันออก เดินลัดเลาะไปตามโขดหิน และเนินทราย
ช่วงบ่าย: ทะเลและท้องฟ้าฝั่งนี้จะเป็นสีเข้ม ส่วนที่เป็นหาดทรายจะเป็นสีส้ม ดูแปลกตา สวยงาม มีเสน่ห์แตกต่างจาก อ่าวใหญ่ และ อ่าวเขาควาย ทางฝั่งตะวันตก

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทศกาลสตอเบอร์รี่ ของดี อำเภอสะเมิง ครั้งที่ 13

      
เทศกาลสตอเบอร์รี่ ของดี อำเภอสะเมิง ครั้งที่ 13

กำหนดจัดงานวันที่ 6-9 กุมภาพันธ์ 2557 ณ.บริเวณที่ว่าการอำเภอสะเมิง ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสตรอเบอร์รี การจำหน่ายสินค้า OTOP ประกวดธิดาสตรอเบอร์รี ธิดาจำแลง และธิดาชนเผ่า  โดยกำหนดจัดพิธีเปิด ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เวลา 09.00 น. ซึ่งจะมีขบวนแห่รถสตรอเบอร์รี  เป็นต้น

กิจกรรมภายในงาน
  • ขบวนแห่ที่ประดับด้วยสตอเบอร์รี่
  • การแสดงศิลปวัฒนธรรมชนเผ่า
  • การจำหน่ายสตอเบอร์รี่
  • การจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร
  • ประกวดธิดาสตอเบอร์รี่,ธิดาจำแลง และธิดาชนเผ่า
  • จำหน่ายสินค้า 1 ตำบล 1ผลิตภัณฑ์